บทที่4

บทที่4

1.ขั้นตอนการศึกษาระบบ
      การศึกษาระบบมีวัตถุประสงค์เพื่อทำความเข้าใจกับระบบการทำงานทั้งหมด นั้นคืิอ เป็นการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะทำเข้าใจกับปัญหาในระบบงาน ดังรายการตัวไปนี้

1.1 ทำความเข้าใจองค์ประกอบภาพรวมทั้งระบบ
     เพื่อให้การศึกษาครบถ้วน ให้ทำศึกษาระบบตามความหมายของระบบตามที่ได้ศึกษามาเเล้วในบทที่1 เเละให้รวมถึงลักษณะของระบบตามสภาพการทำงานจริงของระบบงาน ดังนี้
         1.วัตถุประสงค์
         2.องค์ประกอบของระบบงาน
         3.ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบในระบบงาน
         4.ขอบเขตของระบบงาน
         5.สภาพเเวดล้อมของระบบงาน
         6.ส่วนต่อประสาน(วิธีการปฏิบัติพันธ์กับสภาพเเวดล้อมของระบบงาน)
         7.สิ่งที่นำเข้าไปในระบบงาน
         8.ผลลัพธ์ที่ออกมาระบบงาน(หรือผลลัพธ์จากการประมวลผลข้อมูล)
         9.ข้อจำกัดของระบบงาน



1.2 ทำความเข้าใจกระบวนการทั้งระบบ
      ระบบการทำงานในทุกองค์กรโดยเฉพาะระบบธุรกิจที่เป็นระบบแบบเปิด ย่อมมีกระบวนการทำงานกับสิ่งที่นำเข้าเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ของระบบเสมอ ทั้งการกระบวนในเเต่ละองค์ประกอบเเละกระบวนการระหว่างองค์ประกอบ ดังนั้น จะต้องมีการศึกษาทำความเข้าใจกระบวนการต่างๆตั้งเเต่ต้นจนจบ




1.3 เตรียมความพร้อมสู่การเสนอแนวทางเเก้ปัญหาที่เหมาะสม
       ตามที่ได้กล่าวมาเเล้วว่า หลังจากที่ดำเนินการศึกษาระบบงานเเล้ว ในขั้นตอนต่อไปก็คือการทำความเข้าใจกับปัญหาจนสามารถเสนอเเนะเเนวทางแก้ปัญหาได้ โยทั่วไปจะมี 3 เเนวทางดังนี้
       1. ไม่ต้องการทำอะไร
       2. ปรับปรุงระบบการทำงานให้ดีขึ้น
       3. พัฒนาระบบขึ้นมาใหม่
           นักวิเครราะห์จะต้องตอบให้ได้ว่าแต่ละเเนวทางเลือกนั้นมีผลดีหรือผลเสียอย่างไร
เเละต้องตอบให้ได้ว่าควรเลือกเเนวทางไหน ดังนั้น การศึกษาทำความเข้าใจกับปัญหาต้องมีความครอบคลุมอย่างเเท้จริงจึงจะมีข้อมูลสำหรับทางเลือกเเต่ละเเบบอย่างเพียงพอ นั่นหมายความว่า ยิ่งเราทำความเข้าใจกับระบบงานละเอียดเท่าใดก็จะทำให้เกิดช่องทางในการทำความเข้าใจปัญหาที่ละเอียดครอบคลุมมากขึ้นเท่านั้น การเสนอโครงเเบบการแก้ปัญหาก็มีเเนวโน้มว่าเป็นการแก้ไขปัญหาที่ครอบคลุมมากขึ้น

2.เเนวทางรวบรวมข้อมูลเพื่อการศึกษา
     เพื่อให้การศึกษาระบบการทำงานได้ครบถ้วนตามลักษณะของระบบ ให้พิจารณาเเนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้

     2.1 กำหนดมุมมองสำหรับการรวบรวมข้อมูล   เมื่อเริ่มต้นศึกษาระบบการทำงานของระบบใด ควรมองจากจุดต่อไปนี้
          2.1.1 อะไร(What)
                   เป็นการตั้งค่าคำถามว่า การทำงานมีวัตถุประสงค์อะไร มีขั้นตอนอะไรบ้าง เเละเป็นการทำงานที่นำไปสู่วัตถุประสงค์ของระบบหรือไม่
          2.1.2 อย่าไร(HOW)
                   เป็นการตั้งคำถามว่า เเต่ละชั้นตอนการทำงานนั้นมีวิธีการทำอย่างไร ต้องใช้ทัพยากรอะไรมาช่วยในการทำงาน ทรัพยกรมีส่วนช่วยการทำงานอย่างไร
          2.1.3 เมื่อไร(When)
                   เป็นการตั้งคำถามว่า ขั้นตอนการทำงานเริ่มต้อนเมือ่ไร สิ้นสุดเมื่อไร มีเงื่อนไขอะไรในการเริ่มต้นทำงานเป็นการทำงานที่ต่อเนื่องสมำ่เสมอหรือทำบางครั้ง มีกำหนดเวลาที่เเน่นอนหรือไม่
          2.1.4 ใคร(Who)
                    เป็นการตั้งคำถามว่า ใครเป็นผู้รับผิดชอบในการทำงาน เริ่มต้นรับงานจากใครขั้นตอนก่อนหน้านี้ เมื่อเสร็จเเล้วใครคือผู้รับผิดชอบงานไปทำงานในขั้นตอนต่อไป กรณีเกิดปัญหาขณะทำงานมีใครเป็นผู้ร่วมรับผิดชอบ หรือมีอำนาจตัดสิ้นใจในเรื่องที่เกี่ยวข้อง

     2.2 ข้อมูลที่ต้องรวบรวม
        เมื่อจะรวบรวมข้อมูลเพื่อศึกษาระบบการทำงาน ให้เเบ่งกลุ่มข้อมูลเป็นด้านต่างๆ ที่ทำให้เราทราบสิ่งที่สะท้อนถึงลักษณะหรือส่วนประกอบของระบบการทำงานในองค์ เเละมีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจความต้องการพัฒนาระบบได้ ข้อมูลที่จะรวมรวมมีด้านต่างๆ ดังต่อไปนี้
         2.2.1 ข้อมูลเกี่ยวกับองค์กร
                  ข้อมูลภาพรวบรวมขององค์กรที่เราควรศึกษาได้เเก่
                   1.ปรัชญา(Philosophy) หรือ ปณิธาน (Ambition) ประจำองค์กร
                   2.วิสัยทัศน์ขององค์กร (Vision) เเละพันธกิจขององค์กร (Mission)
                   3.เป้าหมาย / วัตถุประสงค์การดำเนินงาน
                   4.แผนงานทางกลยุทธที่พาไปสู่เป้าหมาย
                   5.การจัดโครงสร้างการบริหารงานองค์กร
                   6.ข้อมูลที่รับมาจากภายนอกองค์กร เเละผลลัพธ์การประมวลผลข้อมูลที่ได้ที่ได้ เช่น ข้อมูลการขายสิ้นค้า รายงานงบดุลประจำปี ข้อเมูลงบดุลประจำปี ข้อมูลการยื่นเเบภาษีอากร
          2.2.2 ข้อมูลเกี่ยวกับระบบงานสารสนเทศ
                    ระบบสารสนเทศจะสะท้อนถึงความต้องการระบบการทำงานในองค์ได้อย่างครอบคลุมเพราะระบบการทำต้องสอดคล้องกับเเผนการทำงานขององค์ทั้งในระยะสั้นเเละระยะยาว หรือเเม้เเต่ข้อจำกัดของ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีก็อาจจะสะท้อนถึงข้อจำกัดในการดำเนินงานภานยในองค์กรได้ด้วย
          2.2.3. ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
                    บุคลากรเป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบงาน ดังนั้น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากรโยเฉพาะข้อมูลด้านการปฏิบัติงานของบุคลากรจะสามารถสะท้อนผลกระทบของการทำงานที่มีต่อระบบงานได้โยตรงข้อมูลด้านบุคลากรที่ควรศึกษาได้เเก่
                   1.โครงสร้างการบังคับบัญชา
                   2.บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่รับผิดชอบงานด้านพัฒนาระบบ
                   3.วัฒนธรรมองค์กร
                   4.ทัศนคติของบุคคลในองค์กรที่มีต่อการพัฒนาระบบ
                   5.สถิติเกี่ยวข้องการปฏิบัติงาน เช่น สถิติการเข้า-ออกงาน สถิติการลางาน สถิติเข้าทำงาน ลาออกงานของพนักงาน เป็นต้น
         2.2.4 ข้อมูลเกี่ยวกับการปฏิบัติงาน
                 โดยทั่วไปองค์กรจัดโครงสร้างการบริหารงานเป็นฝ่าย เช่น ระบบธุรกิจตามที่ได้กล่าวไว้ในบทที่1การทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานจะทำให้เราเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานจะทำให้เราเข้าใจกระบวนการทำงานในองค์ประกอบย่อยหรือระบบย่อยขององค์ เช่น ขอบเขตงานของเเต่ฝ่าย โครงสร้างการทำงานในฝ่าย กระบวนการทำงานในแต่ละฝ่าย ขั้นตอนเเละวิธีการประสานการทำงานระหว่างฝ่าย (หรือส่วนตัวต่อประสานระหว่างระบบย่อย)ข้อมูลที่เกี่ยวกับงานได้เเก่
               1.ข้อมูลที่อินพุตเเละผลลัพธ์ที่ได้จากการทำงานในเเต่ละส่วนงาน
               2.ขั้นตอนการทำงานในเเต่ละส่วนงาน
               3.ระยะเวลาการทำงานตั้งเเต่ต้นจนจบ
               4.มาตรฐานการปฏิบัติงาน
               5.ตำแหน่งงาน(Job Title)  คุณสมบัติที่เหมาะสมกับการทำงาน (Quailfication) เเละหน้าที่ความรับผิดชอบ (Job Description) รวมไปถึงทักษะพิเศษหรือจุดด้อยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการทำงาน
               6.เครื่องมือหรือเทคดนโลยีที่ใช้ในการทำงาน
               7.การมีส่วนเสียที่มาจากการปฏิบัติงาน
         2.2.5 ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพเเวดล้อม
                  ระบบการทำงานส่วนใหญ่เป็นระบบเปิดที่มีปฏิบัติการสัมพันธ์ต่อสภาพเเวดล้อม ตั้งเเต่สภาพเเวดล้อมภาพรวมขององค์กรจนถึงระดับย่อยสุดคือสภาพเเวดล้อมตัวผู้ปฏิบัติงาน สภาพเเวดล้อมจึงมักจะเป็นตัวกำหนดเงื่อไขการทำงานในระบบการทำงาน ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับสภาพเเวดล้อมที่ต้องการศึกษาได้เเก่
          1.หน่วยงานภายในองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร คู่เเข่งทางธรุกิจ ผู้ให้การสนับกำหนดนโบายที่มีส่วนควบคุมการดำเนินงานภายในองค์กร
          2.บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้องกับดำเนินานภายในองค์กร เช่น ที่ปรึกษาการดำเนินงาน ลูกค้า
          3.วิธีการรับข้อมูลหรือส่งข้อมูลให้กับหน่วยงานภายนอก หรือบุคคลภายนอก
          4.สภาพเเวดล้อมทางกายภาพในสถานที่ทำงาน บรรยากาศที่ทำงาน ที่มีต่อการปฏิบัติงานของบุคคลากรหรือของบุุคคลอื่นที่มาติดต่อภายในองค์

3.เเหล่งรวมรวบข้อมูลเพื่อการศึกษาระบบงาน

เเหล่งสำหรับรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมามาใชช่ในการศึกษาระบบงานเเบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ดังนี้

3.1 แหล่งข้อมูลจากภายในองค์กร

     3.1.1 การหาข้อมูลจากเอกสารภายใน
              การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารเป้นวิธีการทำให้เราทราบทำงานในระดับเบื่องต้นได้ง่ายเเละควรเลือกใช้เป็นอับดับเเรก ข้อมูลจากเอกสารเป็นข้อมูลจากเอกสารที่ใช้อ้างอิงอย่างเป็นการ สามารถสะท้อนลักษณะของระบบงานที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้อย่างดี เเละยังช่วยให้เราทราบถึงเเนวทางในการทำงานต่อไปได้ง่าย ดังนั้น เราต้องรวบรวมเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบงานให้มากที่สุดท้ั้งจากเอกสารที่อยู่ในรูปสิ่งพิมพ์เเละเอกสารที่อยู่ในรูปสื่อข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เว็บไชต์องค์ระบบฐานข้อมูล ดังนี้
             เอกสารที่ควรนำทำความเข้าใจ ได้เเก่
1) เอกสารประกาศด้านการบริหารงาน
     เอกสารประเภทนี้จะทำให้เราทำงานในองค์กรในเบื้องต้น เป็นการเข้าใจภาพรวมกว้างๆ
2) เอกสารเเสดงลักษณะขั้นตอนการทำงานในองค์กร
     เอกสารประเภทนี้จะทำให้นักวิเคราะระบบเข้าใจกระบวนการทำงานในองค์กรได้อย่างรวดเร็ว
3) เอกสารที่เกี่่ยกับการปฏิบัติงาน
          1.ฟอร์มเอกสาร
     ฟอร์มเอกสารที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนงาน เช่น เอกสารคำร้องต่างๆ จะทำให้เราเข้าใจสักษณะการนำข้อมูลในระดับเบื้องต้นได้
          2.รายงาย
      รายงานการสรุปการทำงายต่างๆเป็นผลลัพธ์ทางสารสนเทศจากการทำงานจริง จะช่วยให้เราทราบกระเเสข้อมูลได้โดยการนำรายงานไปเปรียบเทียบกับฟอร์มเอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนั้น
4) เอกสารระบบงานสารสนเทศ
      เอกสารประเภทนี้ทำให้เราเห็นกระบวนการระบบได้ดี เพราะการพัฒนาระบบงานสารสนเทศจะสอดคล้องกับความต้องการที่ได้รับการตรวจสอบจากผู้ใช้งานระบบเป็นส่วนใหญ่อยู่เเล้วได้เเก่ แผนงานสารสนเทศ โครงสร้างระบบฐานข้อมูล
      3.1.2 การหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์
               เนื่องจากเอกสารแต่เอกสารก็มีลักษณะก็มีลักษณะเเบบตายตัว เนื้อหาในเอกสารบางส่วนอาจจะคงเดิมในขณะที่การทำงานบางอย่างอาจจะมีการปรับตามสถานการณ์เเละข้อมูลเหล่านี้อาจจะไม่สามารถพบได้ในเอกสารบางอย่างต้องมีคำเเนะนำพิเศษในการทำงานความเข้าใจ การสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องจึงทำให้เราได้ข้อมูลบางด้านเพิ่ใเติม ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.ผู้ที่ควรสัมภาษณ์   ควรสัมภาษณ์บุคคลทั้ง 3 กลุ่มดังนี้
       1.ผู้บริหารระดับต่างๆ
       2.ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่หลักหรือปฏิบัติงานประจำ
       3.บุคคลที่มีส่วนได้ส่วนเสีบจากระบบการทำงาน
2.ข้อมูลจากการสัมภาษณ์   การสัมภาษณ์ทำให้ได้ข้อมูลเพิ่มเติมในเรื่องต่างๆต่อไปนี้
      1.ลักษณะงานที่ทำ
      2.ข้อมูลที่ต้องการใช้ในการทำงาน
      3.ความคาดหวังที่ีมีต่อระบบงาน
      4.ความคิดเห็นที่เป็นประโยช์นต่อระบบการทำงาน

3.2 แหล่งข้อมูลจากภายนอกองค์กร

      แหล่งข้อมูลภายนอกองค์กรอาจเป็นแหล่งที่ทำให้พบเเนวทางทำความเข้าใจกับระบบได้ ระบบการทำงานส่วนใหญ่เป็นระบบเปิดที่มีปฏิสัมพันธ์กับสภาพเเวดล้อม เเละตัวระบบงานองค์กรที่เรากำลังศึกษาก็อาจเป็นเหมือนสภาพเเวดล้อมของระบบงานในองค์กรอื่นที่มีการติดต่อประสานทางข้อมูลกันแหล่งข้อมูลจากภายนอกที่ใช้ในการศึกษระบบได้ดังต่อไปนี้
      3.2.1 บุคคลภายนอกที่ติดต่องานองค์กรที่เรากำลังศึกษาการทำงานอยู่ เช่น ลูกค้าในระบบ                   ธุรกิจหน่วยงานอื่นที่ต้องประสานความร่วมมือกัน สามารถมีส่วนช่วยในการทำความเข้าใจระบบการทำงานได้ เช่น ความคิดเห็นที่มาจากลูกค้าในองค์ธุรกิจ เเต่การดำเนินการจริงควรมีการทำความตกลงกันให้เรียบร้อย เช่น ขอบเขต การให้ข้อมูล วิธีการให้ข้อมูล เพราะทุกองค์กรต่างมีนโยบายในการรักษาข้อมูลในไว้เป็นความลับ เเละยังรักษาข้อมูลของบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องเป็นความลับ เเละการศึกษาต้องอยู่ในขอบเขตของระบบการทำงานเท่านั้น บุคคลภายนอกที่สามารถให้ข้อมูลได้ ดังนี้
             1. หน่วยงานที่ตรวจสอบการทำขององค์กร เช่น การตรวจสอบทางบัญชี การตรวจสอบ มาตรฐาน คุณภาพต่างๆ
             2. บุคคลที่ติดต่อกับองค์กรโดยตรง เช่น ที่ปรึกษาด้านต่างๆ ในองค์ ลูกค้า เป็นต้น
      3.2.2 การค้นคว้าข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง
              โดยส่วนใหญ่การค้นคว้าข้อมูลจะใช้สำหรับการหาข้อมูลเพิ่มเติม เเหล่งค้นคว้าข้อมูลได้เเก่
             1. เเหล่งข้อมูลอาจจะมาจากคนรู้จักที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกัน
             2. บทวิเคราะห์หรือระบบงานในองค์กรอื่นที่มีลักษณะการทำงานคล้ายๆ กัน หรือเคยมีปัญหาเดียวกันกับระบบปัจจุบันศึกษาทำความเข้าใจอยู่ เช่น ข้อดี - ข้อเสีย ข้อจำกัดต่างๆ
             3. กรณีศึกษาต่างๆที่มีการรวบรวมไว้ในห้องสุมด นิตยสารทางด้านไอที
             4. ผู้ผลิตเเละจำหน่ายสินค้าด้านไอที
             5. ข้อมูลจากเว็บไซต์ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น