บทที่2

บทที่ 2 ความเข้าใจพื้นฐานของการพัฒนาระบบ

1.ภาพรวมของการพัฒนาระบบ

     ระบบงานธุรกิจที่ใช้มักจะประกอบด้วยบุคลากร์ อุปกรณ์สำนักงานต่างๆ รวมถึงระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นนักวิเคราะห์ระบบจะต้องมีแนวทางและวิธีในการพัฒนาและปรับปรุงระบบ หรือพัฒนาระบบใหม่ขึ้นมาแทนระบบเดิมที่ใช้อยู่

1.1 นิยามของการพัมนาระบบ
      1.1.1 ความหมายทางเทคนีิคการพัฒนาระบบ
        นิยามหลักของคำว่า ระบบแล้วอาจไม่ได้ หมายถึงระบบสารสนเทศหรือเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง ดังนั้นเมื่อกล่าวถึงกับการพัฒนาระบบแล้วจึงมีความหมายทางเทคนิคที่รวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศตามลักษณะความต้องการในองค์กรโดยปริยาย
      1.1.2 การเรียกชื่อระบบในขณะพัฒนาระบบ
             เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันในการทำงาน จึงมักให้คำนิยามของระบบในแต่ละช่วงพัฒนาดังนี้
1. ระบบปัจจุบัน
2.ระบบใหม่
3.ระบบเดิมหรือระบบเก่า

1.2 จุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ
     "จุดเริ่มต้นของการพัฒนาระบบ" มาจากความต้องการที่จะปรับปรุงการทำงานในระบบปัจจุบันให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งานระบบมากขึ้น และได้ผลลัพธ์ตรงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ให้มากที่สุด

1.3 ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบ
      ความต้องการอาจเป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาระบบ แต่ในสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการพัฒนาระบบนั้นมีดังต่อไปนี้
     1.3.1 ปัจจัยภายในระบบ (ปัจจัยในขอบเขตของระบบ)
           1. บุคลากรที่ทำงานกับระบบต้องการให้ปรับปรุง
           2. เจ้าของระบบต้องการพัฒนา
           3. ปัญหาหรือข้อผิดพลาดของระบบปัจจุบัน
           4. มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่
     1.3.2 ปัจจัยภายนอกระบบ (สภาพแวดล้อมภายนอกของระบบ)
           1. ความต้องการของบุคคลภายนอกขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับระบบภายในองค์กร
           2. การปรับตัวให้รับกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้

1.4 ลักษณะแนวทางพัฒนาระบบสำหรับธุรกิจ

      1.4.1 กำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตที่ชัดเจน
          การพัฒนาระบบจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ก่อน เพราะกำหนดวัตถุประสงค์การพัฒนาเป็นการกำหนดเป้าหมายของการพัฒนาทำให้เราทราบว่าองค์ประกอบและกระบวนการทำงานในระบบที่กำหนดขึ้นมาจะเป็นคำตอบการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย
       1.4.2 ใช้ปัจจัยจากสภาพแวดล้อมมามีส่วนในการพัฒนา
          ระบบที่ไม่สำเร็จไม่เพียงแต่ระบบทำงานไดดีเยี่ยมเท่านั้น แต่ต้องใช้งานได้จริงในสภาพแวดล้อมของระบบด้วย

1.5 การวิเคราะห์และออกแบบระบบกับการพัฒนาระบบ

    1.5.1 ความหมาย
          1.การวิเคราะห์ระบบ เพื่อให้ทราบและเข้าใจถึงปัญหา และความต้องการ (Requirement)
          2.การออกแบบระบบ การเพิ่มประสิทธิภาพ การปรับปรุงขั้นตอนหรืออุปกรณ์ในระบบปัจจุบัน
    1.5.2 ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบ
          1.การงิเคราะห์ระบบทำให้ทราบปัญหาที่เกิดขึ้นจริงและทราบความต้องการที่แท้จริง
          2.การออกแบบระบบทำให้เกิดการแก้ปัญหาโดยปรับปรุงระบบปัจจุบัน
          3.การวิเคราะห์และออกแบบระบบมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาระบบ

1.6 ประเภทของการพัฒนาระบบ
      การพัฒนาระบบจะแบ่งงานการพัฒนาเป็น 2 ประเภท ดังนี้
          1. ระบบเชิงตรรกะ (Logical system) 
             เป็นระบบที่มีองค์ประกอบที่มีลักษณะเป็นนามธรรม จับต้องไม่ได้ แต่สามารถสะท้อนผลลัพธ์ออกมาให้เป็นรูปธรรมและสามารถอ้างอิงถึงสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ เช่น ระบบคอมพิวเตอร์
          2. ระบบเชิงกายภาพ (Physical system) 
             เป็นระบบที่มีองค์ประกอบเป็นรูปธรรม จับต้องได้ ที่นำมาประยุกต์ใช้งานให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของระบบ เช่น ห้องทำงาน อุปกรณ์สำนักงาน

1.7  อุปสรรคการพัฒนาระบบ
        1.7.1 การต่อต้าน
      การต่อต้านมักมีสาเหตุมาจากมุมมองของผู้ที่รับผลกระทบจากการพัฒนาระบบปัญหาความขัดแย้งหรือที่เรียกว่าปัญหาทางการเมืองภายในองค์กร เช่น
               1. ความไว้วางใจ
               2. กลัวการสูญเสียอำนาจ
               3. ไม่ต้องการการเปลี่ยนแปลง
               4. กลัวการเสียเวลา
         1.7.2 ความไม่ชัดเจนในความต้องการ
                1.ความขัดแย้งในความต้องการของแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องในองค์กร
                2.ความไม่เข้าใจหรือความไม่ชัดเจนในความต้องการ
                3.ความไม่ชัดเจนในกระบวนการในระบบที่จะได้มาซึ่งผลลัพธ์ของระบบ
         1.7.3 นโนบายด้านการรักษาข้อมูลภายใน
         แต่ละองค์กรมักจะมีข้อมูลที่เสี่ยงต่อความเข้าใจผิด (Sensitive Information) ต่อบุคคลภายนอก หรืออาจเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่องค์กรไม่ต้องการให้มีการเปิดเผย เช่น ผลประกอบการ อัตราเงินเดือนพนักงาน

2. วิธีการพัฒนาระบบ

      การเลือกวิธีที่ใช้ในการพัฒนาระบบที่เหมาะสมสำหรับองค์กร เพราะจะช่วยให้เป็นแนวทางดำเนินการในระยะออกแบบระบบที่เหมาะสมกับสภาพความพร้อมขององค์กรมีอยุู่ 3 วิธีหลักๆ คือ

     2.1 การพัฒนาระบบขึ้นมาเอง (In House / Custom Development)

           2.1.1 ความหมาย  การพัฒนาระบบขึ้นมาเองหมายถึง การพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานเองภายในองค์กร โดยองค์กรนั้นมีบุคลากรด้านการพัฒนาระบบเป็นของตนเอง เช่น นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst) โปรแกรมเมอร์ (Computer Programmer) และเจ้าหน้าที่ทางไอทีที่เกี่ยวข้อง

            2.1.2 ข้อดี
                  1. สนองความต้องการของผู้ใช้ระบบได้เต็มที่
                  2. ลดค่าใช้จ่ายด้านการจัดหาทรัพยากร
                  3. ผู้ที่พัฒนาระบบจะรู้จักองค์กรอย่างดี ทั้งความต้องการและวัฒนธรรมองค์กร
           2.1.3 ข้อเสีย
                 1. มีค่าใช้จ่ายสำหรับบุคลากรสูงโดยเฉพาะบุคลากรด้านไอที
                 2.เอกสารประกอบการพัฒนาระบบอาจไม่เป็นไปตามมาตรฐาน
                 3.ประสบการณ์อาจน้อย

     2.2 การใช้บริการจากแหล่งภายนอก (Outsourcing Service) 

            2.2.1 ความหมาย การใช้โปรแกรมสำเร็จ หมายถึง การพัฒนาระบบโดยใช้ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมสำเร็จรูป
            2.2.2 ข้อดี
                  1. สามารถนำมาใช้งานได้ทันที
                  2. ได้ซอฟต์แวร์คุณภาพดี
                  3. มีบริการให้คำปรึกษาจากผู้จัดจำหน่าย
            2.2.3 ข้อเสีย
                  1. ผู้รับจ้างพัฒนาที่มืออาชีพอาจมีน้อย
                  2. องค์กรสูญเสียความลับภายใน
                  3. ต้องอยู่ในภาวะพึ่งพาผู้รับจ้างพัฒนาเสมอๆ

 3. วิธีการสำรวจระบบ

        การสำรวจระบบ คือ การศึกษาทำความเข้าใจลักษณะภาพรวมเบื่องต้นของระบบงานปัจจุบัน การ
ทำความเข้าใจกับปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาของระบบงานปัจจุบัน วิธีสำรวจระบบนี้มี 3

ส่วนใหญ่ๆ ดังนี้


         3.1 การศึกษาระบบงานปัจจุบัน
                การศึกษาระบบปัจจุบันเป็นทำความเข้าใจกับระบบการทำงานในปัจจุบัน การศึกษามี 3 แนวทางได้แก่
         3.1.1 การศึกษาจากเอกสารภายใน
         3.1.2 การสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ในองค์กร
         3.1.3 การศึกษาจากเอกสารภายนอกที่เกี่ยวข้องกับองค์กร


         3.2 การทำความเข้าใจปัญหาของระบบปัจจุบัน

         ปัญหา คือ ผลแตกต่างระหว่างสถานการณ์ที่เป็นอยู่จริงกับสถานการณ์ที่ต้องการจะให้เป็น การ
ทำความเข้าใจกับปัญหาหรือการทำความรู้จักกับตัวปัญหาที่แท้จริงที่เกิดขึ้นในระบบปัจจุบัน คือ การ

หาความแตกต่างระหว่างสิ่งที่กำลังเป็นอยู่กับสิ่งที่ต้องการให้เป็นจากระบบปัจจุบัน การกำหนดเค้าโครง

ปัญหา (Problem Definition) ซึ่งจะทำให้เราทราบสภาพปัญหาที่เกิดในระดับเบื้องต้นก่อนที่จะรวบรวม

ข้อมูลอย่างละเอียดจนพบความต้องการที่แท้จริง การทำความเข้าใจประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ
         
              3.2.1 ตรวจสอบปัญหาเบื้องต้นวิธีตรวจสอบปัญหาเบื้องต้น มีอยู่ 2 วิธี ดังนี้
                      - การตรวจสอบปัญหาจากการปฏิบัติงาน
                      - การตรวจสอบปัญหาจากพฤติกรรมของผู้ที่ทำงาน
              3.2.2 กำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหา
              3.2.3 การทำข้อสรุปการพัฒนาระบบเบื้องต้น


         3.3 การศึกษาความเป็นไปได้
         การพัฒนาระบบจะมีข้อจำกัดในการพัฒนาเสมอ และข้อจำกัดนั้นก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนิน
การพัฒนาระบบรวมไปถึงผลตอบแทนที่ได้จากการพัฒนาระบบด้วย ดังนั้นจะต้องมีการศึกษาความเป็น

ไปได้ก่อนดำเนินโครงการพัฒนาระบบซึ่งเป็นการประเมินถึงความสมเหตุสมผล



     4. วงจรการพัฒนาระบบ





         4.1 การแบ่งระยะของวงจรพัฒนาระบบ
                4.1.1 การวางแผนโครงการ
                4.1.2 การวิเคราะห์ระบบ 
                4.1.3 การออกแบบระบบ

                4.1.4 การนำระบบไปใช้                
                4.1.5 การบำรุงรักษาระบบ


         4.2 แบบแผนของวงจรพัฒนาระบบระบบ
         การแสดงแบบแผนภาพวงจรพัฒนาระบบที่ผ่านมาอยู่ในรููปแผนภาพน้ำตก ออกแบบโดย Royce
ในปี ค.ศ. 1970 แผนภาพแบบนี้เป็นแบบที่ได้รับความนิยมทั่วไป ง่ายต่อการทำความเข้าใจและใช้กันมา

นาน

สรุปท้ายบทที่2

          วงจรพัฒนาระบบหรือ SDLC เป็นวิธีที่นักวิเคราะห์ระบบใช้ในการพัฒนาและออกแบบระบบซึ่งแบ่งออกเป็นระยะต่างๆ ประกอบด้วย ระยะวางแผนโครงการ ระยะวิเคราะห์ระบบ ระยะออกแบบระบบ ระยะนำไปใช้งาน ระยะการประเมินผล และระยะบำรุงรักษาระบบ โดยนักวิเคราะห์ระบบต้องเข้าใจว่าพัฒนาระบบไปเพื่ออะไร ระบบเก่ามีปัญหาใดจึงต้องพัฒนาระบบใหม่ และในการพัฒนาระบบนั้นจะมีปัจจัยใดที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบบ้าง

           



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น