บทที่1

บทที่ 1 ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับระบบ

1.ภาพโดยรวมของระบบ

1.1 ความหมาย 
          ระบบ (System) คือ ชุด (Set) ขององคืประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์กันและทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุซึ่งจัดประสงค์เดียวกัน อาจหมายถึงซึ่งบุคคลช สิ่งของระบบย่อยๆ ที่ทำให้เกิดการทำงานร่วมกันของระบบ

1.2 ลักษณะของระบบ  มีลักษณะดังนี้

     1. มีการกำหนดขอบเขตของตัวระบบเอง (System Boundary)
     2.องค์ประกอบของระบบจะอยู่ในขอบเขตของระบบ
     3.ระบบจะอยู่ภายใต้สภาพแวดล้อมหนึ่งๆ (System Environment)

1.3 ระบบที่มีระบบย่อย
          ระบบบางระบบอาจจะมีระบบย่อยหลายระบบประกอบกันจากการรวมลักษณะระบบ ถึงแม้ว่าเมื่อสถานการณ์หรือกาลเวลาเปลี่ยนไป มีผลทำให้บางองค์ประกิบมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง หรือถูกตัดออกไปแต่จะเน้นที่องค์ประกอบระบบต้องมีความสัมพันธ์กันด้วยกระบวนและเกิดผลลัพธ์ตามจุดประสงค์ของระบบ

1.4 ส่วนประกอบของระบบ โดยทั่วไปทั้งระบบจะแบ่งส่วนประกอบออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
     1. บุคลาก (Person) เป็นทรัพยากรที่สำคัญที่สุด
     2. อุปกรณ์ (Equipment) เป็นสิ่งที่ช่วยให้การดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ
     3. กระบวนการ (Procedure) เป็นมาตรฐานการดำเนินการขององค์ประกอบต่างๆ

1.5 ประเภทของระบบ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆดังนี้
         1. ระบบปิด (Closed system) เป็นระบบอิสระจากสภาพแวดล้อมภายนอก มีลักษณะการทำงานที่ไม่ยุ่ง กับสภาพแวดล้อมภายนอกแต่ให้ความสำคัญต่อการทำงานเป็นหลัก
         2. ระบบเปิด (Open system) มีลักษณะการทำงานที่ตรงข้ามกับระบบปิด นั้นคือการให้สภาพแวดล้อมภายนอกมาเป็นตัวแปรในการกำหนดการทำงานภายในของระบบ

1.6 นักวิเคราะห์ระบบ
      นักวิเคราะห์ระบบจะเป็นผู้ที่ศึกษาปัยหาต่างๆ และความจำเป็นขององค์กรว่าจะนำเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้ อย่างไรที่จะสามารถช่วยให้การแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น

2. ระบบสารสนเทศ

2.1 ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
      เมื่อกล่าวถึงสารสนเทศจะมีส่วนประกอบที่สำคัญสองส่วนคือ ข้อมูลและสารสนเทศ โดยทั้งสองส่วนจะมีความสัมพันธ์ ดังนี้
   
      ข้อมูล (Data) เป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นประจำวันของกิจกรรมใดๆ หรือเหตุการณ์ใดๆ ข้อมูลอาจอยู่ในรูปแบของค่าตัวเลข ข้อความต่างๆ รูปภาพ เสียง
      สารสนเทศ (Information) เป็นข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลจนมีความหมายและประโยชน์ต่อการนำไปใช้งาน

2.2 ลักษณะสารสนเทศที่ดี
       ระบบสารสนเทศที่ดีจะต้องเป็นระบบที่สามารถช่วยในการตัดสินใจเรื่องนั้นๆ ได้ดีขึ้น ลักษณะสารสนเทศที่ดีนั้น มีดังนี้
   1.มีความถูกต้อง
   2.มีความเชื่อถือได้
   3.มีความสมบูรณ์และครบถ้วน
   4.มีความคุ้มทน
   5.มีความหยืดหยุ่น
   6.ตรงประเด็น
   7.มีความทันสมัย
   8.สามารถตรวจสอบได้

2.3 ความหมายของระบบสารสนเทศเบื้องต้น

             ระบบสารสนเทศ (Information System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่จัดการระบบหรือกิจกรรมใดๆ โดยตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูล ระบบสารสนเทศนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นระบบคอมพิวเตอร์เสมอไปเมื่อมีเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย ก็ทำหน้าที่เป็ฯอุปกรณ์ในระบบสารสนเทศ มีความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้อง และมีประสิทธิภาพมากขึ้น

2.4  เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology)

          เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเตรื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการจัดการกับข้อมูลหรือสารสนเทศ ได้แก่ การจัดเก็บ การประมวล การเผยแพร่ อันได้แก่ ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ของคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการจัดการกับข้อมูลและสารสนเทศ

2.5  ความหมายระบบสารสนเทศโดยรวมในปัจจุบัน

          ความหมายในทางเทคนิคของระบบสารสนเทศ (Information System) คือ กลุ่มของระบบงานที่ประกอบไปด้วยฮาร์ดแวร์หรืออุปกรณ์ และซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ทำหน้าที่รวบรวม ประมวลผล จัดเก็บและแจกจ่ายข้อมูลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจและการควบคุมภายในองค์กร ดังนั้นระบบสารสนเทศก็จะมีส่วนประกอบเดียวกันแต่มีรูปแบบที่เรียกต่างกันไป ดังนี้
     1. Peopleware หมายถึงบุคลากรที่ทำงานกับระบบสารสนเทศ
     2. Hardware หมายถึงอุปกรณ์สำหรับการจัดการข้อมูล
     3. Software หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์เป็นชุดคำสั่งสำหรับควบคุมอุปกรณ์

2.6  ลักษณะการใช้งานระบบสารสนเทศในองค์กร

          สำหรับการใช้งานระบบสารสนเทสในองค์กรนั้น เจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติการจะทำงานกับข้อมูลดิบเป็นส่วนใหญ่ เช่น การรวบรวมจัดเก็บข้อมูล ประมวลผลข้อมูล การให้ความสำคัญทั้งด้านคุณภาพต่อข้อมูลและสารสนเทศตามระดับตำแหน่งทางด้านบริหารงาน

2.7  ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ

        ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ ( Management Information System : MIS ) เป็นระบบบริการสารสนเทสสำหรับการบริหารงาน เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผน การควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้องระบบนี้ประกอบด้วยระบบย่อยต่างๆ ต่อไปนี้
     2.7.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Process System : TPS )
     2.7.2 ระบบจัดทำรายงานเพื่อการจัดการ (Management Reporting System :MRS )
     2.7.3 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System : DSS )
     2.7.4 ระบบสารสนเทศสำนักงาน (Office Information System : OIS)
     2.7.5 ระบบปัญญาระดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI )
     2.7.6 ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System : ES )
     2.7.7 ระบบสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง (Executive Support System : ESS )

2.8  การพัฒนาระบบสารสนเทศ

           การพัฒนาระบบชององค์กรมีความหมายรวมถึงการพัฒนาระบบสารสนเทศโดยปริยาย เพราะ
1. ทุกระบบงานล้วนมีขั้นตอนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล และต้องการผลลัพธ์ทางสารสนเทศเพื่อนำไปใช้งานตามจุดประสงค์ของผู้ใช้งานระบบ
2. เทคโนโลยีสารสนเทสมีการพัฒนาความสามารถมากขึ้นและมีราคาต่ำลง ทำให้มีการลงทุนในการจัดหามาใช้งานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ
3. ประสิทธิภาพและความทันสมัยของเทคโนโลยีสารสนเทศมักนำมาซึ่งภาพลักษณ์ที่ดี ทั้งในแง่ความน่าเชื่อถือและความนิยมชมชอบต่อบุคคลภายนอกขององค์กร

3.  ระบบธุรกิจ

3.1 ความหมายของระบบธุรกิจ
       ระบบธุรกิจเป็นระบบที่มีองค์ประกอบจากระบบย่อยพื้นฐานที่สัมพันธ์กันด้วยกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ นั่นคือ ผลกำไรจากการประกอบการนั่นเอง ดังนั้นในการวิเคราะห์ระบบจะต้องศึกษารูปแบบการดำเนินการทางธุรกิจนั้นๆ

3.2  ลักษณะองค์กรธุรกิจ

       องค์กรธุรกิจ (Business Organization) เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในลักษณะขององค์ ซึ่งมีกระบวนการการทำงานโดยการนำเอาทรัพยากรทางเศรษฐกิจ และข้อมูลไปทำการประมวลผลด้วยกระบวนการทางธุรกิจ ไเ้แก่ การตลาด การเงิน การผลิต
    3.2.1 ระบบย่อยพื้นฐานของระบบธุรกิจ 
          1.ระบบการตลาด
          2.ระบบการผลิตสินค้า
          3.ระบบบริหารสินค้าคงคลัง
          4.ระบบบัญชีและการเงิน
          5.ระบบทรัพยากรบุคคล
    3.2.2 ส่วนประกอบในระบบธุรกิจ มี 3 กลุ่มดังนี้
          1. บุคลากร ได้แก่ พนักงานตำแหน่งต่างๆ
          2. อุปกรณ์ ได้แก่ เครื่องใช้สำนักงาน
          3. กระบวนการ ได้แก่ นดยบายการทำงาน
    3.2.3 ภาพรวมในระบบธุรกิจ จะมีลักษณะตามนิยามของระบบ ดังนี้
          1. มีขอบเขตของระบบ คือ แต่ละกระบวนการระหว่างระบบย่อย มุ่งให้เกิดผลลัพธ์ตามวัตถุประสวงค์ทางธุรกิจขององค์กรนั่น คือ ผลกำไรที่มากที่สุด
          2. ทุกระบบย่อยอยู่ในขอบเขตของระบบ
          3. ระบบอยู่ในสภาพแวดล้อมหนึ่ง ของระบบธุรกิจมักเป็นปัจจัยทางเศรษฐศาสตร์ ได้แก่ ค่านิยมของลูกค้าในการบริโภคสินค้าหรือใช้บริการจากองค์กรธุรกิจนโยบายหรือข้อกำหนดต่างๆของรัฐ

3.3  ประเภทองค์กรและธุรกิจ

          การแบ่งประเภทองค์กรธุรกิจทำได้หลายแบบ แต่เพื่อให้เห็นภาพได้ง่ายและสอดคล้องกับเนื้อหาเกี่ยวกับระบบ ที่ก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางรายได้ให้กับองค์กร ดังนี้
   3.3.1 ประเภทธุรกิจที่แบ่งตามกิจกรรมหลัก
         1.ธุรกิจผู้ผลิต เช่น กระดาาสำนักงาน
         2.ธุรกิจบริการ เช่น การบริการช่างสำหรับต่อเติมบ้าน
         3.ผู้จัดจำหน่ายและร้านค้าปลีก เช่น การจำหน่ายทางหน้าร้าน
         4.ธุรกิจเกษตรกรรมและเหมืองแร่ ได้แก่ พืชพรรณที่มาจากการเพาะปลูก
         5.สถาบันการเงินและธนาคาร เช่น รายได้จากดอกเบี้ยที่เก็บจากผู้ที่มาขอกู้ยืมเงินเพื่อนำไปเป็นทุนในการดำเนินธุรกิจ
   3.3.2 ประเภทธุรกิจแบ่งตามลักษณะการเป็นเจ้าของ จะมีเงื่อนไขข้อกำหนดทางกฎหมายที่ต่างกันไปดังนี้
          1.กิจการเจ้าของคนเดียว
          2.กิจการห้างหุ้นส่วน
          3.กิจการบริษัทจำกัด
          4.รัฐวิสาหกิจ
          5.กิจการสหกรณ์
          6.กิจการแฟรนไซส์ (Franchise)

3.4 การบริหารงานภายในองค์กรธุรกิจ

          การใช้ทรัพยากรทางเศรษฐกิจ เช่น คน เงิน วัตถุดิบ เครื่องมือ ที่ดิน พลังงาน รวมถึงการอำนวยความสะดวกและการประมวลผลข้อมูลในกระบวนการธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ โดยลักษณะระบบที่สนับสนุนการบริหารองค์กรมีดังนี้
    3.4.1 ระบบสารสนเทศตามหน้าที่ในองค์กร  โดยแบ่งตามในหน้าที่องค์กร 6 ประเภทดังนี้
          1.ระบบสารสนเทศด้านบัญชี (Accounting Information System)
          2.ระบบสารสนเทศด้านการเงิน (Finance Information System)
          3.ระบบสารสนเทศด้านการผลิต (Manufacturing Information System)
          4.ระบบสินค้าคงคลัง
          5.ระบบสารสนเทศด้านการตลาด
          6.ระบบสารสนเทศด้านทรัพยากรมนุษย์
    3.4.2 ระบบสารสนเทศตามลักษณะการสนับสนุน เป็น 3 ประเภท คือ
          1.ระบบสารสนเทศแบบประมวลรายการ
          2.ระบบสารสนเทศแบบรายงานเพื่อการจัดการ
          3.ระบบสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการตัดสินใจ

3.5  การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจ

       องค์ประกอิบที่เป็นระบบย่อยที่ต้องผสานกันอย่างดีจึงเกิดประสิทธิผลในการทำงานในองค์กร
    3.5.1 วัตถุประสงค์ของการสื่อสารในองค์กร ออกเป็น 3 ด้านกว้างๆดังนี้
          1.เพื่อแจ้งให้ทราบ
          2.เพื่อความบันเทิงใจ
          3.เพื่อชักจูงใจ
    3.5.2 ความสำคัญของการสื่อสารในองค์กร โดยแบ่งออกเป็น 4 ด้านดังนี้
          1.เป็นเครื่องมือของผู้บริหารในการบริหารงาน
          2.เป็นเครื่องมือที่ช่วยสร้างความสัมพัธ์ระหว่างผู้บริหารกับบุคลากรต่างๆ
          3.เพื่อเป็นการช่วยปฏิบัติภารกิจขององค์กร
          4.การทำงานเกิดการพัฒนาและมีประสิทธิภาพ
    3.5.3 กระบวนการติดต่อสื่อสารภายในองค์กรธุรกิจ
    3.5.4 อุปสรรคการติดต่อสื่อสาร

3.6 กระบวนการตัดสินใจของผู้บริหาร

      การตัดสินใจในเรื่องสำคัญเป็นบทบาทหนึ่งของผู้บริหารในองค์กรธุรกิจ กระบวนการตัดสินใจของผู้บริหารเกี่ยวข้องกับ 2 สิ่งต่อไปนี้
      3.6.1 กระบวนการตัดสินใจของมนุษย์
      3.6.2 แบบแผนการรับรู้และการตัดสินใจ

3.7 ขั้นตอนการตัดสินใจของผู้บริหาร

     ไม่ว่าผู้บริหารจะมีพฤติกรรมในกระบวนการตัดสินใจแก้ไขปัญหาแบบใด แต่ละขั้นตอนจะมีการใช้บุคลากรที่เกี่ยวข้องและใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานด้วย ดังต่อไปนี้
      3.7.1 การรวบรวมข้อมูล (Intelligence)
      3.7.2 การออกแบบ (Design)
      3.7.3 การเลือกหนทาง (Choice)
      3.7.4 การลงมือปฏิบัติ (Implementation)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น