บทที่ 13การเขียนและนำเสนอระบบงาน
1.การทบทวน
แผนงานสำหรับโครงการพัฒนาระบบจะต้องมีการทบทวนก่อนที่จะดำเนินการต่อไป การทบทวน แผนงานเป็นการทบทวนข้อมูลในการพัฒนาระบบ โดยตรวจสอบว่าการพัฒนาระบบมีความครบถ้วนตามความต้องการของผู้ใช้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระบบงายและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่ เช่น การกำหนดปัญหาที่ครบถ้วน การเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม สภาพแวดล้อม1.1 ภาพรวมของการทบทวนแผนงาน
การทบทวน(Verification)แผนงานเป็นการทบทวนข้อมูลในการพัฒนาระบบ โดยตรวจสอบว่าการพัฒนาระบบมีความครบถ้วนตามความต้องการของผู้ใช้ สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ระบบงาน และ การกำหนดปัญหาที่ครบถ้วน การเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม สภาพแวดล้อมรองรับระบบที่นำมาใช้งาน
*ผู้ที่ทำหน้าที่ทบทวน
ผู้ที่เกี่ยวข้อหลายๆ ฝ่ายต้องร่วมกันตรฝจสอบแผนงานโดยมีการนัดประชุมกันยังเป็นทางการ เช่น วิเคราะห์ระบบ ผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาระบบ กลุ่มผู้ใช้ระบบ ผู้ควบคุมมาตราฐานด้านเทคนิคระบบสารสนเทศในองค์กร
1.2 ช่วงเวลาที่มีการทบทวน
การทบทวนแผนงานไม่ได้ทีเฉพาะในขั้นตอนหลังแต่ละของกิจกรรมการพัฒนาระบบด้วย ทั้งระหว่างการพัฒนาระบบและหลักการใช้งานในระบบ
2.การนำเสนอ
การเขียนและนำเสนอระบบเพื่อขออนุมัติโครงการหรือการยืนยันการพัฒนาระบบนั้นให้ดำเนินตามขั้นตอน
2.1 ทบทวนการวิเคราะห์ระบบ
- การทบทวนระบบงานปัจจุบัน
ตรวจสอบว่าการศึกษาระบบงานนั้นครบถ้วยหรือไม่เช่นองค์ประกอบระบบ กระบวนการ ต่างๆในระบบ
- การกำหนดความต้องการใหม่
การรวบรวมข้อเท็จจริงทำได้ครบถ้วนหรือไม่ การทำความเข้าใจกับปัญหาและการวิเคราะห์ความต้องการทำได้ถูกต้องครบถ้วน
- การออกแบบระบบใหม่
การออกแบบสอดคล้องกับความต้องการและวัตถุประสงค์ของระบบ แนวทางดำเนินการหรือวิธีที่ใชเในพัฒนาระบบตามแนวทางแก้ปัญหาที่กำหนดไว้
2.2 กำหนดเนื้อหาการนำเสนอที่เหมาะสม
สิ่งที่นำเสนอนั้นควรมีการแบ่งเนื่อตามกลุ่มโดยกำหนดกลุ่มบุคคลสำคัญต่อการพัฒนาระบบ
2.2.1 ผู้บริหาร
โดยทั่วไผแล้วผู้บริหารจะให้ความสำคัญในด้านเกียวกับการจัดการ การนำเสนอจึงเน้นไปที่แนวคิดในการแก้ไขปัญหาและแนวคิดดำเนินการพัฒนาระบบซึ้งมีรายละเอียด มีข้อกำจัดอย่างไร
2.2.2 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน
เป็นผู้ใช้งานระบบเป็นหลัก การนำเสนอจึงเน้นไปทีระบบงานตามที่ผู้ใช้ต้องการได้ เช่น นำเสนอการออกแบบหน้าจอระบบงานที่เป็นรูปธรรมชัดเจน การทำงานได้สะดวกรวดเร็วให้ผลลัพธ์การทำงานที่ถูกต้องในรูปแบบที่ต้องการ มีความยืดหยุ่นในการทำงาน สามารถเรียนรู้การทำงานกับระบบได้
3.วิธีการเขียนรายงานนำเสนอระบบ
หลังจากที่ได้กำหนดปัญหาและความเป็นไปได้แล้ว ต้องจัดทำเป็นรายงานนำเสนอระบบหรือเอกสารแผนงานโครงการพัฒนาระบบโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอระบบและขอการยืนยันในการดำเนินการพัฒนาผู้มีอำนาจตัดสินใจ เช่นผู้บริหารองค์กร คณะดำเนินโครงการ ตามที่ได้ศึกษาในหัวข้อที่ผ่านมา
3.1 ส่วนประกอบทั่วไปของรายงานวิเคราะห์ระบบ
- การอธิบายการทำงานของระบบ
- การอธิบายปัญหาภายในระบบ
- ความต้องการของระบบ และสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการ
3.2ส่วนประกอบรายงานนำเสนอแผนพัฒนาระบบ
โดยหลักแล้ว รายงานจะแสดงเค้าโครงของโครงการพัฒนาระบบ โดยแสดงส่วนประกอบข้อมูลทั้ง 3 ส่วนตามที่กล่าวไว้ดังนี้
* บทหน้า
สำหรับส่วนของบทนำจะประกอบด้วย
1.ภาพรวมโครงการ
1) วัตถุประสงค์โครงการ
2) ขอบเขตโครงการ
3) ความเป็นไปได้ของโครงการ
4) เหตุผลสนับสนุนว่าควรดำเนินงานตามโครงการ
5) ทรัพยากรที่ต้องใช้
6) ตารางเวลาดำเนินการ
7) สภาพแวดล้อมที่จะนำระบบมาใช้
8) ข้อจำกัดที่ส่งผลกระทบต่อโครงการ
2. คำแนะนำ
ควรมีข้อมูลเสนอแนะสำหรับการดำเนินกิจกรรมต่างในแต่ละชั้นตอนของการพัฒนาระบบ ซึ่งข้อเสนอแนะนี้อาจมาจากประสบการณ์ การพัฒนาระบบที่ผ่านมา หรือการพบข้อเท็จจริงขณะศึกษาระบบงาน
* คำอธิบายการพัฒนาระบบ
คำอธิบายการพัฒนาระบบจะแสดงแนวทางการพัฒนาระบบงาน ประกอบด้วย
1.ทางเลือกในการแก้ไขปัญหา
ให้เสนอรายการตัวโครงแบบ (Configuration) ต่างๆ ของระบบที่จะใช้เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาที่มีคำอธิบายโดยสรุปสำหรับแต่ละตัวโครงแบบ และเสนอตัวเลือกที่ควรใช้พร้อม เหตุผลโดยสรุป โครงแบบต่มงๆ ที่นำมาเป็นตัวเลือกขึ้นอยู่ทางเทคโนโลยีสภาพแวดล้อมของระบบ
2.อธิบายโครงแบบที่เลือก
ต้องมีคำอธิบายและคำพรรณนาการเสนอให้เห็นภาพในแต่ละจุดการทำงานกับข้อมูลที่เข้ามาและผลลัพธ์ทางสารสนเทศที่ได้
*ผลการประเมินความเป็นไปได้
*แนวทางการบริหารจัดการ
ให้ระบุว่าแนวทางการบริหารโครงการประกอบด้วย โครงสร้างการบริการจัดการทีมงานพัฒนาระบบ แผนการสื่อสารความเข้าใจ ข้อกำหนดด้านมาตรฐานการทำงานและกระบวนการโครงการพัฒนา
4. การนำเสนอโครงแบบการพัฒนาระบบ
ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงการพัฒนาส่วนติดต่อผู้ใช้ทั้งส่วนการนำข้อมูลเข้า และส่วนการแสดงข้อมูลออกของระบบ 4.1การออกแบบส่วนนำข้อมูลเข้า การออกแบบส่วนนำข้อมูลเข้า ผู้ออกแบบระบบจะต้องเลือกวิธีที่เหมาะสม และดีที่สุดโดยพิจารณาจากเครื่องมือที่เป็นอุปกรณ์นำข้อมูลเข้าระบบ การออกแบบส่วนข้อมูลเข้า ไม่เพียงแต่การทำให้การนำข้อมูลเข้าไปมีความสอดคล้องกับข้อมูลหรือสารสนเทศที่ต้องการให้แสดงออกเป็นผลลัพธ์เท่านั้น แต่การออกแบบต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และลักษณะการทำงานของมัน มีข้อพิจารณาการออกแบบ 4.2 การแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งานเป็นการออกแบบส่วนที่ทำหน้าที่เชื่อมโยงกันโดยมากแล้วจะเกี่ยวกับหน้าจอภาพเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถโต้ตอบกับระบบความต้องการ มีประเด็นสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณา 4.2.1 วัตถุประสงค์การออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน 1.วัตถุประสงค์ทั่วไป โดยคือออกแบบเพื่อให้เป็นส่วนในการประสานงานการใช้งานระหว่างผู้ใช้งานระบบกับตัวระบบเอง ไม่ว่าจะโดยวิธีใด ที่ทำให้ระบบสามารถดำเนินตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในระบบได้ 2.วัตถุประสงค์ในเชิงเทคนิคของการออกแบบระบบ วัตถุประสงค์ของการออกแบบคือ เพื่อใช้เป็นส่วนประสานงานใช้งานระหว่างผู้ใช้งานจะเห็นว่าการบรรลุ วัตถุประสงค์ในการออกแบบต้องอาศัยแนวคิดทางจิตวิทยาจึงทำให้มนุษย์ที่มีความรู้สึกนึกคิดและมีความจำกัดทางกายสามารถทำงานกับคอมพิวเตอร์ที่มีลักษณะเหมือนเครื่องจักรไร้ความคิดแต่ทำงานที่มีความซับซ้อนให้ได้ผลลัพธ์การทำงานที่ถูกต้องในเวลาอันสั้นนี้ 4.2.2 ลักษณะการติดต่อผู้ใช้ การออกแบบเชิงกายภาพให้กับส่วนต่างๆ ในระบบงาน จะขึ้นอยู่กับลักษณะการติดต่อกับผู้ใช้ โดยทั้วไปแล้วแบ่งลักษณะการติดต่อเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ 1.ติดต่อด้วยตัวอักขระ (Text Mode) การทำงานจะใช้ตัวอักขระเป็นสื่อกลางในการสื่อสาร การสั่งงานให้ระบบทำงานจึงเป็นการพิมพ์คำสั้งจากคีย์บอร์ดเป็นหลัก และผลลัพธิ์ที่ได้ก็จะเป็นข้อความให้อ่านบนหน้าจอหรือพิมพ์ข้อความออกทางเครื่องพิมพ์ ดังนี้น ผู้ใช้งานต้องจดจำคำสั่งต่างๆ และอาจต้องจำรหัสที่ใช้ในการตีความผลลัพธ์จากการทำงาน ปัจจุบันการทำงานในลักษณะนี้มีให้เห็นบ้าง เช่น โปรแกรมรุ่นเก่าบ้างโปรแกรมที่ยังสามารถทำงานได้ในปัจจุบัน
4.3 การออกแบฐานข้อมูล
การทำงานของระบบการออกแบบไม่ใช่เพียงการนำเสนอเเล้วให้ผลลัพธ์การออกแบบวิธีโดยให้กับการสอดคล้องดั้งนั้นจึงต้องออกแบบฐานข้อมูลของในระบบ
4.3.1 วัตถุประสงค์การออกแบบฐานข้อมูล
จุดประสงค์ของการออกแบบฐานข้อมูลคือการออกแบบวิธีการวิเคราะห์ จำลองข้อมูล
5.การนำเสนอแผนงานพัฒนาระบบ
หลังจากที่ศึกษาทำความเข้าใจระบบงานแล้ว สอ่งที่ต้องทำต่อไปคือการออกแบบระบบใหม่ให้เรียบร้อยและนำระบบที่ออกแบบนั้นมาใช้งานโดยพัฒนาให้เป็นระบบใหม่ขึ้นก่อนที่จำกำเนินการตามแผนงานพัฒนาระบบ 5.1 การวางแผนนำระบบไปใช้และติดตั้ง การนำเสนอนี้ประกอบด้วยวิธีการพัฒนาระบบและแนวทางการสร้างให้เป็ยระบบขึ้นมา หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เลือกที่จะสร้างโปรแกรมตามที่ออกแบบไว้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยุทธวิธีการออกแบบที่เลือกไว้ให้เหมาะสมกับสภาพองค์กรปละจะมีแนวทางเริ่มต้นใหม่ 5.1.1 การสร้างโปรแกรมใหม่ โดยทั่วไปแล้ว การวางแผนสำหรับการออกแบบและพัฒนาระบบโปรแกรมนั้นจะมีขั้นตอนการทำงานคล้ายๆกับวงจรการพัฒนาระบบ เพียงแต่การออกแบบและพัฒนสโปรแกรมจะเน้นการทำงานด้านเทคนิคเป็นหลักการสร้างโปรแกรมขึ้นมา การสร้างโปรแกรมนี้เป็นการดำเนินการโดยโปรแกรมเมอร์หรืออาจมีนักวิเคราะห์ระบบร่วมด้วยขั้นตอนของการออกแบบและพัฒนาระบบ *การศึกษาปัญหา ในแง่ของการสร้างโปรแกรม การศึกษาปัญหาก็คือการศึกษาปัญหาความต้องการของตัวโปรแกรมว่าจะให้โปรแกรมทำอะไรและใหผลลัพธ์อะไรอกมา ซึ้งสามารถศึกษาได้จากเอกสารการวิเคราะห์และออกแบบระบบในระยะต่างๆของวงจรการพัฒนาระบบที่ผ่านมารวมทั้งการสอบถามเพิ่มเติมจากนักวิเคราะห์ระบบ *การออกแบบโปรแกรม หลังจากที่ทราบความต้องการตัวโปรแกรมแล้ว โปรแกรมเมอร์จะออกแบบทาง เทคนิครายละเอียดการทำงานปลีกย่อย หรือออกแบบอัลกอริธึมโปรแกรม สำหรับการแก้ไขปัญหาหรือการทำงานตามที่ต้องการที่ต้องการโปรแกรม มีการเครื่องมือช่วยมนการออกแบบเช่น การเขียนแผนผัง *เขียนโปรแกรม ขั้นตอนนี้เป็นการเขียนโปรแกรมตามอัลกอริธึมที่ออกแบบไว้โดยเลือกใช้ภาษาหรือเครื่องมือสำหรับการออกแบบโปรแกรมตามที่กำหนดไว้ *ทดสอบโปรแกรม เมื่อสร้างโปรแกรมเสร็จแล้วจะต้องทดสอบความถูกต้องในการทำงานของโปรแกรมโดยตรวจว่ามีความผิดพลาดของไวยากรณ์ ในการเขียนโปรแกรมหรือไม่มีความผิดพลาดในการทำงานได้ทันที *การจัดทำเอกสารประกอบโปรแกรม การจัดทำเอกสารมี 2 ประเภทได้แก่คู่มือการใช้งานโปรแกรมสำหรับผู้ใช้งานและเอกสารประกอบการพัฒนาโปรแกรมสำหรับโปรแกรมเมอร์ในการปรับปรุงแก้ไขโปรแกรมในอนาคต *การบำรุงรักษาโปรแกรม เป็นขั้นตอนที่ทำให้โปรมแกรมสามารถใช้งานได้โดยไมติดขัดเช่น การแก้ไขข้อบกพร่องที่อาจพบขณะใช้งาน การปรับปรุงตามความต้องการที่เปลี่ยนไปตามเวลาการจัดเก็บโคดของโปรแกรม ไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลที่เหมาะสม 5.1.2 การประยุกต์ใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูป การวางแผนสำหรับการเลือกซื่อซอฟต์แวร์ที่มีการทำงานตรงกับข้อกำหนดความต้องการที่ได้จากการวิเคราะห์และออกแบบระบบจะเกี่ยวข้องกับงานด้านการประยุกต์ใช้ใน 3 ลักษณะ 1.การประบแต่งการทำงาน *การกำหนดค่าการทำงาน *การดัดแปลงการทำงาน -การเสียงต่อการเสียหายตัวต่อของโปรแกรม เพราะผูแก้ไขอาจจะไม่ทราบรายละเอียดของการทำงานทั้งหมดของโปรแกรม -ผู้จำหน่าวอาจปฏิเสธความรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดจากการใช้โปรแกรม หรือยกเลิกการรับประกันหรือหยุดการช่วยเหลือสนับสนุน -การดำเนินการโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ผลิตซอฟต์แวร์อาจเข้าข้ายการละเทิดทรัพย์สินทางปัญญา 2.การรวมซอฟต์แวร์เฉพาะด้านแต่ละโปรแกรมให้ทำงานร่วมกัน การเลือดใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปอาจมีลักษณะการใช้งานที่แยกส่วนตามลักษณะงาน แต่ว่าแต่ละส่วนอาจมีความต้องการใช้ข้อมูลบางอย่างร่วมกัน จึงมีแนวคิดในการทำให้โปรแกรมสามารถใช้งานข้อมูลร่วมกันได้ 3.การยกระดับ การยกระดับเป็นการปรับปรุงซอฟต์แวร์ทั้งในด้านการแก้ไขบกพร่องเดิมและด้านการผนวกความสามารถใหม่ให้กับซอฟต์แวร์ที่ได้ตอดตั้งไว้แล้ว ทั้งนี้เพื่อในระบบมีความทันสมัยอยู่เสมอโดยทั่วไปผู้ผลิตซอฟต์แวร์สำเร็จรูปจะมีบริการนี้และมีค่าใช้จ่ายที่ตำเมื่อเทียบกับราคาตอนที่จัดซื้อครั้งแรก
5.1.3 การเลือกแนวทางพัฒนาระบบ แนวทางพัฒนาขึ้นมานั้นมีอยู่ 4 วิธีด้วยกัน การเลือกใช้แต่ละวิธีการลือก และมีค่าใช้จ่ายที่ตำเมื่อเปรียบ เทียบกับราคาตอนที่จัดซื้อครั้งแรก 1.แบบเฉพาะเจาะจง -เน้นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า -เหมาะสำหรับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและไม่คงที -การทำงานของแต่ละคนมีความอิสระต่อกัน อาจทำให้เกิดการทำงานของข้อมูลที่ซ้ำซ้อน -เหมาะที่จะเลือกใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปขนาดเล็ก 2.แบบฐานข้อมูล *มุ่งเน้นการพัฒนาฐานข้อมูลนั้นคือเน้นการออกแบบการจัดเก็บข้อมูลเป็นหลัก *มีเป้าหมายในการนำข้อมูลมาใช้ในอนาคตหรือการพัฒนาระบบต่อในอนาคต 3.แบบล่างขึ้นข้างบน -เน้นการพัฒนาระบบย่อยๆก่อนแล้วค่อยร่วมกันเป็นระบบใหญ่ -อาจต้องใช้เวลาในการปรับแต่งแก้แตละระบบให้ทำงานเข้ากันได้ 4.แบบบนข้างล่าง *เน้นการมองภาพรวมของระบบทั้งหมดก่อนแล้วค่อยกระจ่ายเป็นาะบบย่อยๆ *หลีกเลี่ยงความซ้ำซ้อนของระบบย่อยหรือความสับสนในการทำงารระบบย่อย *การวิเคราะห์และออกแบบระบบต้องมีความแม่นยำและชัดเจน 5.2การวางแผนเบื้องต้นในการติดตั้งระบบ หลังจากที่การออกแบบระบบใหม่ถูกนำมาใช้โดยสร้างเป็นตัวระบบแล้วผ่านการทดสอบแล้วตามหลังการที่จะกล่าวในบทที่ 14 ขั้นตอนต่อมาก็คือนำตัวระบบมาติดตั้งใช้งานและการติดตั้งระบบใหม่นี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนกิจกรรมต่างๆในระบบการทำงานขององค์กรเลยทีเดียว เพราะต้องนะทิ้งการงานระบบเก่าโดยปริยาย การวางแผนการติดตั้ง 5.2.1 การเลือกกลยุทธ์การติดตั้งที่เหมาะสม 1. การติดตั้งระบบใหม่แทนที่ระบบปัจจุบันทันที (Direct lnstallation) การติดตั้งวิธีนี้จะยกเลิกระบบปัจจุบันทั้งหมดและใช้ระบบใหม่ทั้งหมดทันที 1)ลักษณะเด่น การดำเนินการติดตั้งระบบต้องทำให้เส้ตทีเดียวทั้งหมด ระยะเวลาการติดตั้งให่เสร็จขึ้นกับขนาดของระบบ เหมาะสมสำหรับในกรณีระบบปัจจุบันไม่สามารถใช้งานได้ 1)ข้อดี *วางแผนการติดตั้งระบบได้ง่าย *เกิดสถานการ์ณบังคับให้ระบบใหม่ต้องถูกใช้งาน *ค่าใช้จ่ายต่ำและใช้เวลาน้อยที่สัดเมื่อเทียบกับกลยุทธ์อื่น 2)ข้อเสีย มีความเสี่ยงสูงจากข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถคาดการ์ณ์ไว้ก่อนได้ ผู้ใช้งานต้องปรับตัวสูงในช่วงแรกของการใช้งานระบบใหม่ หรืออาจเกิดความสับสนสูง 5.2.2 การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ การติดตั้งระบบใหม่ ต้องมีการวางแผนสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพในสิ่งเหล่านี้คือ 1.อุปกรณ์ในระบบใหม่ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ ระบบเครือข่าย อุปกรณ์นำข้อมุลเข้าต่างๆ 2.เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน เช่น แบบฟอร์มเอกสารและรายงานต่างๆ 3.สภาพการทำงาน เช่น ลักษณะของหน้าจอโปรแกรมที่ใช้งาน วิธีการใช้โปรแกรม 5.2.3 การถ่ายโอนข้อมูล(Data Migration) ไม่ว่าจะเลือกกลยุทธ์ในการติดตั้งระบบใด แต่ข้อมูลในระบบยังเป็นสิ่งจำเป็นต่อการทำงานในระบบ จึงต้องทีแผนในการถ่ายโอนข้อมูล 1.ลักษณะถ่ายโอน การถ่ายโอนข้อมูลมีหลายลักษณะที่ต้องดำเนินการ - เอาข้อมูลจากระบบเดิมทั้งหมดมาอยู่ในระบบใหม่ การถ่ายโอนในลักษณะนี้ทำได้ง่าย แต่โครงสร้างข้อมูลในระบบฐานข้อมูลใหม่ต้องรองรับโครงสร้างข้อมูลเดิม - สรุปข้อมูลในระบบเดิมทั้งหมดมาเป็นค่าตั้งต้นหรืออ้างอิงในระบบใหม่ การถ่ายโอนในลักษณะนี้จะเป็นการนำค่าสรุปจากระบบฐานข้อมูลเดิมในรูปแบบของ "ยกยอดมา"มาใช้ในระบบฐานข้อมูลใหม่ โดยใช้เป็นค่าตั้งต้นในการคำนวณหรือเปรียบเทียบกับข้อมูลใหม่ที่จะเพิ่มขึ้นมาเมื่อมีการใช้งานระบบใหม่ - ยกเลิกข้อมูลในระยบเดิมทั้งหมด ในบางกรณีอาจจะต้องยอมยกเลิกการใช้งานข้อมูลบางส่วนในระบบใหม่ซึ่งอาจเป็นผลสรุปมาจากการสิเคราะห์ระบบว่าไม่มีความจำเป็นหรือระบบใหท่ไม่รองรับวิธีการเก็บข้อมูลตามที่ออกแบบไว้ในระบบเก่า 2.ขั้นตอนการถ่ายโอน การถ่ายโอนข้อมูลมี 2 ขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1) แปลงสภาพข้อมูล (Data Convesion) การแปลงสภาพข้อมูลเป็นการเตรียมข้อมุลก่อนโอนเข้าระบบใหม่ โดยนำข้อมูลจากระบบฐานข้อมูลของระบบงานเก่ามาดัดแปลงให้อยู่ในลักษะที่พร้อม ก่อนที่จะโอนเข้ามาในระบบการแปลงสภาพมี2 ด้านใหญ่ๆคือ ก. ชนิดข้อมูล (Data Type) บางครั้งอาจจะมีความจำเป็นต้องแปลงชนิดของข้อมูล ตัวอย่างเช่น ข้อมูลบางอย่างในหากไม่แปลงให้เป็นชนิดเดียวกันก่อน ก็อาจจะเกิดปัญหาขณะโอนข้อมูลได้ ข. ค่าจองข้อมูลตามลักษณะการภ่ายโอน บางครั้งกานฝรถ่ายโอนข้อมูลมีความจำเป็นต้องแปลงสภาพค่าแต่ยังคงสภาพความน่าเขื่อถือเดิม กล่าวคือ หากเลือกลักษณะการถ่ายโอนแบบสรุปค่า ก็ต้องประมวลข้อมูลมั้นใจว่าข้อมูลที่มีสามารถโอนมาใช้งานในระบบใหม่ได้ทั้งหมด เช่น ข้อมูลหมายเลขโทรศัพท์ระบบมีแค่ 7 หลัก แต่ในระบบใหม่ หมายเลขโทรศัพท์ 9 หลัก ก็จะต้องประมวลให้ได้หมายเลขโทรศัพท์มีจำนวนหลักเพิ่มขึ้นมาก่อนที่จะโอนข้อมูล 2)โอนข้อมูล (Data Transfer) หลังจากการเตรียมข้อมูลเสร็จแล้ว ให้โอนข้อมูลเข้าไปในระบบฐานใหม่ โดยอาจจะใช้เครื่องมือที่มีอยู่ในระบบฐานข้อมูลอยู่แล้ว หรืออาจจะเขียนโปรมแกรมขนาดเล็กในเวลาาอันสั้นเพื่อใช้สำหรับการโอนข้อมูล สรุปท้ายบทที่ 13 ในการพัฒนาระบบจะต้องมีการจัดทำเอกสารแผนงานการดำเนินการพัฒนาระบบ เพื่อเสนอต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเพื่อนำระบบนั้นมาใช้เอกสารนี้จำเป็นรายงานการวิเคราะห์ระบบ ซึ้งประกอบด้วย การอธิบายการทำงานของระบบ การอธิบายปัญหาภายในระบบและสิ่งที่ต้องดำเนินการเพื่อให้เป็นไปตามความต้องการของหน่ายงสนหรือองค์กรนั้นๆ และแผนงานนี้จะต้องนำเสนอแผนงานในการติดตั้งหรือนำระบบไปใช้ด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น